💚วันเกษตรแห่งชาติ💚
10/02/2568
8
💚วันเกษตรแห่งชาติ💚
ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี 🌳
เริ่มมาจากในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
พระองค์ทรงเล็งเห็นความสำคัญ
ของการทำเกษตรกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
กับวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนาน
จึงทรงเริ่มการแสดงกสิกรรมและพาณิชการ
ในช่วงปี พ.ศ. 2453-2454
หรือ “งานเกษตรแห่งชาติ” ในปัจจุบัน
เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป
ได้เรียนรู้การพัฒนาวิชาการเกษตรใหม่ ๆ
อีกทั้งเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้เกษตรกร
ในการเพาะปลูกพืชผลให้งอกงาม
รวมถึงส่งเสริมความก้าวหน้าจากการค้าขายผลผลิต
นอกจากการเพาะปลูกแล้ว การเลี้ยงสัตว์
ยังเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับเกษตรกรมาทุกยุค
ในอดีตไม่เพียงเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อเป็นอาหารเท่านั้น
แต่ยังใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น วัว และควาย
มีบทบาทสำคัญในการใช้เป็นพาหนะ
บรรทุกสิ่งของหรือเทียมเกวียน
ใช้ทำไร่ ไถนา และเมื่อโตเต็มวัย
ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับเจ้าของได้อีกด้วย
อาชีพซื้อ-ขายวัว ควาย เป็นอาชีพที่อยู่คู่
กับเกษตรกรมาอย่างยาวนาน
ในอดีตมีการต้อนซื้อวัวซื้อควายมาจากหมู่บ้าน
ใกล้เคียงเพื่อเอาไปขายที่เมืองล่าง
หรือภาคกลาง ด้วยวิธีการเดินเท้า
ไปเป็นกองคาราวานโดยมี “นายฮ้อย”
เป็นผู้นำขบวน ซึ่งผู้ที่เป็นนายฮ้อย
จะต้องเป็นผู้มีวิชาอาคมเพื่อป้องกันโจรป่า
รวมถึงมีความรู้เรื่องยารักษาโรค
เพื่อรักษาคนในกองคาราวาน
เนื่องจากต้องใช้เวลาเดินทางเป็นแรมเดือน
เมื่อ “นายฮ้อย” ได้เงินตรามาแล้ว
มักจะเก็บไว้ในถุงผ้าขนาดกระทัดรัด
เรียกว่า “ถุงไถ่” แล้วนำถุงนั้นมาสอดไว้ที่แขน
บ้างก็ร้อยรอบเอว หรือคล้องที่คอม้า
จึงเป็นที่มาของการเรียก “นายร้อย”
แต่เนื่องจากคนอีสานออกเสียง ‘ร’ เป็น ‘ฮ’
จึงเป็นที่มาของคำว่า “นายฮ้อย” นั่นเอง
ที่พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดขอนแก่น
มีการเล่าเรื่องราวของนายฮ้อยค้าวัวควาย
ผ่านนิทรรศการให้ทุกท่านมาเยี่ยมชม
และเรียนรู้กันด้วยนะคะ 🐃✨
📌 พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดขอนแก่น
🏛️ นิทรรศการชั้น 2 เปิดให้บริการ
⏰ อังคาร-ศุกร์ 08:30-16:30 น.
⏰ เสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 10:00-18:00 น.
🪙 วันจันทร์ 08:30-16:30 น. เปิดให้บริการเฉพาะ
นิทรรศการหมุนเวียน ชั้น1 ห้องสมุด และร้านจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์เหรียญและของที่ระลึก
☎️ ติดต่อ Inbox Page หรือ 043-306167
author image
Admin
พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดขอนแก่น

no-popup